ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

PHAR MAN แอพพลิเคชั่นเพื่องานซ่อมบำรุง by อิศราวุธ สายมาศ

ชื่อผลงาน : PHAR MAN แอพพลิเคชั่นเพื่องานซ่อมบำรุง

                              ผู้ถ่ายทอด : อิศราวุธ สายมาศ  ถ่ายทอด : วันที่ 12 กันยายน 2565
   

1.บทนำ

            จากการที่ได้ปฏิบัติงาน ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้จัดทำเว็บแอพพลิเคชั่น ชื่อว่า PHARMAN โดยได้ทำการรวบรวมระบบงานต่างๆที่เกี่ยวกับงานด้านการให้บริการ และงานซ่อมบำรุงทั่วไปมาไว้ด้วยกัน เช่น ระบบแจ้งซ่อมผ่าน QR CODE หรือ ระบบบันทึกการซ่อมบำรุง เป็นต้น มาจัดทำเป็นเว็บแอพพลิเคชั่น ชื่อว่า PHARMAN เพื่อนำมาใช้ควบคู่
กับระบบเดิม ที่ใช้แจ้งซ่อมผ่าน QR CODE และบันทึกการซ่อมบำรุงผ่าน Google Forms ซึ่งการใช้งานระบบเดิมมีความยาก
ต่อการค้นหา เนื่องจากการแจ้งเตือนนั้นได้รวมอยู่กับแชททั่วไปของไลน์ และอยู่ใน G-mail  รวมกับงานอื่นๆมากมาย

            จึงเกิดแนวความคิดที่จะพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นสำหรับบริหารจัดการซ่อมบำรุงและให้บริการ โดยเพิ่มเติมฟังก์ชั่น
การทำงานนอกเหนือจากความสามารถในระบบเดิม เช่น ผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่นสามารถค้นหาการแจ้งปัญหาการใช้งานได้โดยตรงผ่านแอพ PHARMAN โดยค้นหาที่เมนู My Job จะสามารถมองเห็นปัญหาที่ผู้ใช้แจ้งเข้ามา และยังสามารถใช้งานแจ้งปัญหาต่างๆได้โดยไม่ต้องสแกน QR CODE  สามารถบันทึกการซ่อมบำรุงได้ทันทีโดยไม่ต้องไปค้นหาไฟล์ใน G-mail และยังสามารถดูข้อมูลคู่มือ คำแนะนำต่างๆในการใช้งานอุปกรณ์ภายในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้อีกด้วย ซึ่งระบบพัฒนา
ด้วย Thunkable เป็นเว็บไซต์สร้างแอพพลิเคชั่น และใช้ google sheet และAirtable เป็นฐานข้อมูล

2. วัตถุประสงค์

          2.1เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบงานจัดการงานซ่อมบำรุง

            2.2 เพื่อติดตามงานได้อย่างเป็นระบบ

            2.3 เพื่อดูรายงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            2.4 เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน

3. วิธีดำเนินการสร้างแอพพลิเคชั่น PHAR MAN

3.1 เครื่องมือ

3.1.1 google sheet

3.1.2 google forms

3.1.3 airtable

3.1.4 thunkable x

4. กลุ่มเป้าหมาย

4.1 บุคลากรสายสนับสนุน ที่ทำหน้าที่ในการให้บริการ หรือซ่อม โดยเป็นผู้ที่ทำงานในด้านการให้ความช่วยเหลือ และการซ่อม สามารถติดตามงานได้จากแอพพลิเคชั่น และบันทึกผลการซ่อม พร้อมนำสรุปผลการซ่อม หรือข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจในการทำงานได้

5. ขั้นตอนการดำเนินการ

5.1 ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการ โดยศึกษาจากปัญหาที่พบเจอแล้วนำมาหาทางแก้ไข

5.2 ระยะที่ 2 พัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่องานซ่อมบำรุง (PHARMAN)

5.3 ระยะที่ 3 ศึกษาแอพพลิเคชั่นเพื่องานซ่อมบำรุง (PHARMAN)

                        5.3.1 ประสานให้กลุ่มผู้ใช้งาน ทดลองใช้งาน

                        5.3.2 ชี้แจงกลุ่มผู้ใช้ ตามขั้นตอนการใช้งานแอพพลิเคชั่น (PHARMAN)

                        5.3.3 ทดลองใช้งานแอพพลิเคชั่น (PHARMAN)

                        5.3.4 เก็บรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบความสมบูรณ์ นำไปวิเคราะห์ด้วยสถิติและสรุปผล
 

6. ตารางและรูปภาพ

 6.1 ตารางที่ 1 ผลการศึกษา

   ผลการศึกษา
       
 1. ผลจากการศึกษาความต้องการ พบว่าผู้ใช้งานมีความต้องการให้การแจ้งเตือนงานนั้นสามารถติดตามงานได้จากเครื่องมือๆหนึ่ง ซึ่งจะต้องแยกออกจากแชทกลุ่มไลน์เพราะว่า
แชทกลุ่มไลน์นั้นยากต่อการค้นหา และติดตามงาน แสดงภาพตัวอย่างในรูปภาพที่ 1
   2. เราได้ทำการพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่น (PHARMAN) เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้โดยสามารถค้นหาและติดตามงานได้ผ่านแอพพลิเคชั่น (PHARMAN) ได้ทันที
โดยที่ไม่ต้องเข้าไปค้นหาในแชทไลน์กลุ่ม แสดงภาพตัวอย่างในรูปภาพที่ 2
   3. ผลการสำรวจความพึงพอใจต่อการใช้งานแอพพลิเคชั่น แสดงภาพตัวอย่างในรูปภาพที่ 3

6.2 รูปภาพ

รูปภาพที่ 1 ระบบงานเดิม : การแจ้งเตือน

รูปภาพที่ 2 ระบบงานใหม่ : การแจ้งเตือนงาน

รูปภาพที่ 3 ความพึงพอใจต่อการใช้บริการแอพพลิเคชั่นPHARMAN ข้อมูล ณ วันที่ 3 พฤษภาคม 2565

7. สรุป

            จากการทดลองจะเห็นได้ว่าระบบงานเดิมก็สามารถใช้งานร่วมกับแอพพลิเคชั่นตัวใหม่ได้ เช่น สามารถแจ้งปัญหาได้
แจ้งเตือนในไลน์ได้เหมือนกัน มีการบันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลเหมือนกัน มีการล็อคอินก่อนเข้าใช้งานตามหลักของมหาวิทยาลัยเหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันเพียงขั้นตอนการเข้าดูข้อมูล ซึ่งถ้าเข้าดูข้อมูลโดยระบบงานเดิมก็สามารถดูได้เช่นกัน แต่จะมีขั้นตอนการเข้าถึงที่ซับซ้อนกว่าตามเหตุผลข้างต้น ส่วนการเข้าใช้งานผ่านระบบใหม่นั้น สามารถเข้าดูได้ตรงตามความต้องการซึ่งเป็นไปตามแบบที่วางเอาไว้

8. ปัจจัยความสำเร็จ

 

1. ด้านสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำเป็นต้องทำงานแบบออนไลน์

2. ด้านเศรษฐกิจ  ได้แก่ ต้องช่วยคณะลดการใช้ทรัพยากรกระดาษ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย จึงอยากพักดันให้มีการทำงานผ่านระบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น

3. ด้านสังคม  ได้แก่ เนื่องจากปัจจุบันผู้คนมีการใช้โทรศัพท์มือถือในการดำเนินกิจกรรมต่างๆมากขึ้น เช่น ซื้อของผ่านโทรศัพท์มือถือ ซื้ออาหารผ่านโทรศัพท์มือถือ ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น จึงเกิดแนวคิดอยากให้บุคลากรหันมาทำงานผ่านโทรศัพท์มือถือ

4. ด้านเทคโนโลยีฯ  ได้แก่ เนื่องจากโทรศัพท์มือถือนั้น เป็นอุปกรณ์ที่ทุกคนมีกันทุกคนอยู่แล้ว เลยใช้ประโยชน์จากจุดนี้นำมาพัฒนางานในแอพพลิเคชั่น และให้ผู้คนสามารถทำงานผ่านโทรศัพท์มือถือได้

5. ด้านวัฒนธรรมองค์กร  ได้แก่ นำเอาวัฒนธรรมองค์กรมาเป็นพลังในการทำงาน หัวข้อทำงานเชิงรุก (Proactiveness) มีทักษะในการเล็งเห็นถึงปัญหาหรือโอกาสที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า พร้อมทั้งลงมือจัดการกับปัญหานั้นๆ หรือใช้โอกาสที่เกิดขึ้นให้เกิดประโยชน์ต่องาน ด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่

6. ด้านระบบที่เอื้อต่อการทำงาน  ได้แก่ ขอบคุณ E-mail@ubu ของมหาลัยที่ให้ล็อคอินใช้ได้ในทุกระบบของ google ทำให้ทุกการทำงานนั้นง่ายมากยิ่งขึ้น

7. ด้านคน/ทีมงาน ได้แก่ ขอบคุณผู้บริหารที่วางแนวทาง ทำระบบแจ้งซ่อมไว้ให้ใช้งาน ขอบคุณบุคลากรที่ให้คำแนะนำปรับปรุงในการทำแอพพลิเคชั่นในครั้งนี้ และก็ขอบคุณที่เลือกใช้แอพพลิเคชั่นนี้ในการทำงานของท่าน

8. ด้านรูปแบบการทำงาน/รูปแบบการจัดการ ที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ได้แก่ ด้วยคณะมีแนวทางที่จะให้การทำงาน
ในส่วนต่างๆของปัจจุบันนั้น พักดันให้ทำงานผ่านระบบให้มากขึ้น จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันคณะมีระบบใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย และยังมีการพัฒนาระบบต่างๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นรูปแบบการทำงานในอนาคตของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ